ปัญหาของลูก
คือความทุกข์ในหลุมฝังศพของพ่อแม่
ที่ไม่ได้วางแผนจัดการมรดกไว้
ตอน “พินัยกรรม”
.
ช่วงนี้ มีแต่ได้รับข่าว “คนเสียชีวิต"
และปัญหาที่ตามมาคือ
คนเสียชีวิตไม่ได้มีการเตรียมตัวเรื่องผู้จัดการมรดก
หรือพินัยกรรม ผลที่ตามมา คือ
คนข้างหลังต้องยุ่งยากในการทำนิติกรรมต่างๆ
.
โอนที่ดินเป็นของตน
เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินก็จะปฎิเสธบ้าง
.
ลูกหนี้เจ้ามรดกปฎิเสธบ้าง
.
จะไปเบิกเงินธนาคารๆ ก็ปฎิเสธ
.
บ้างว่าต้องนำเอาคำสั่งศาล
ตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดก
มาให้ดูมาแสดงเสียก่อน
ว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว
มิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้
.
ดังนั้นท่านผู้สูงวัยเสียเวลาซักนิด
ทำพินัยกรรมแบบง่ายๆ (ก็ได้) จะได้ไปสบายหายห่วง
.
“พินัยกรรม”
เป็นเอกสารที่เราจะใช้ในการระบุว่า
ต้องการมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดบ้าง
ภายหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว
ซึ่งแม้จะมีกรอบว่าจะต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้
แต่การเขียนพินัยกรรมก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร
และไม่ต้องรอให้ใกล้ตายเสียก่อนด้วย
เพราะถึงตอนนั้นก็อาจสายเกินไป
ขอเพียงมีคุณสมบัติ 2 ข้อ
คือ มีอายุครบ 15 ปีขึ้นไป
เเละศาลไม่ได้มีคำสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
.
“พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ”
ที่สามารถทำได้เลยมีกฎหมายรับรอง
และไม่มีขั้นตอนให้ยุ่งยาก
เหมาะสำหรับการสั่งเสียเรื่องที่ไม่สลับซับซ้อน
ทายาทหรือคนที่ผ่านการตรองแล้วว่า
ควรได้รับมรดกมีเพียงไม่กี่คน
และผู้ทำพินัยกรรมไม่มีทรัพย์สินมากมายอะไรนัก
.
ข้อดีและข้อเสียที่ควรรู้ไว้ก่อนจะตัดสินใจทำ
“พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ” คือ
#ข้อดี
สามารถเขียนที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้
แล้วแต่ความพอใจ
ไม่จำเป็นต้องมีใครมาร่วมรับรู้
ร่วมเซ็นเป็นสักขีพยาน
#ข้อเสีย
ด้วยความที่คิดเอง ทำเอง
เก็บไว้เองคนเดียว
ถ้าไม่มีการแจ้งที่เก็บกับใครเอาไว้
หากผู้ทำเกิดเสียชีวิตอย่างกะทันหัน
มีความเป็นไปได้สูงว่า
อาจไม่มีใครรู้เลยว่าได้มีการทำพินัยกรรมแล้ว
รวมทั้งไม่รู้ว่าเก็บเอกสารเอาไว้ที่ใด
พินัยกรรมฉบับนั้นก็อาจสูญค่าไปเปล่า ๆ
.
เสียเวลาซักนิด
ทำพินัยกรรม วางแผนจัดการมรดก
จะได้ไปสบายหายห่วง