ไม่อยากให้ลูกเป็น “โรคสมาธิสั้น ” หยุดยื่นแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนเพื่อทำให้เด็กไม่ซน

  • 12 November 2019
ไม่อยากให้ลูกเป็น “โรคสมาธิสั้น ” หยุดยื่นแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนเพื่อทำให้เด็กไม่ซน

โรคสมาธิสั้น ADHD โรคที่ดูแล้วไม่น่ากลัว ไม่อันตราย แท้จริงแล้ว

กระทบการทำงานสมองลูกทำพูด อ่าน เขียน แย่!

คุณพ่อคุณแม่สมัยนี้ เลือกที่จะฝากลูกไว้กับพี่เลี้ยงจำเป็นสายเอนเตอร์เทน

ที่มาพร้อมกับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน

สามารถพกพาไปไหนต่อไหนก็ได้

ช่วยให้ลูกไม่วิ่งซน  อีกทั้งยังช่วยทำให้ลูกได้กินข้าวเยอะขึ้นอีกด้วย!

แต่หารู้ไม่ว่า พี่เลี้ยงคนนี้นี่ล่ะ ที่ดูเหมือนจะใจดี

กลับกลายเป็นพี่เลี้ยงเลือดเย็น

ที่จะมาทำร้ายลูกน้อยของเราโดยที่ไม่รู้ตัว

ดังที่คุณพ่อคุณแม่จะเห็นได้ว่า มีหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย

ที่ออกมาช่วยกันรณรงค์ให้คุณพ่อคุณแม่พยายาม

หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ที่ดูแล้วน่าห่วงเป็นที่สุด

ด้วยวัยของพวกเขาที่กำลังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้และการพัฒนา

อาจส่งผลกระทบให้ลูกต่าง ๆ มากมาย

ไม่ว่าจะเป็น สายตาสั้น โรคส่วนตัวสูง

มีปัญหาในการเข้าสังคม ไม่พูดจากับใคร

อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ที่สำคัญส่งผลร้ายแรงจนทำให้เด็กกลายเป็นโรคสมาธิสั้น!

จากปัญหานี้เอง

ทำให้อธิบดีกรมสุขภาพจิต

นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์

ต้องออกมาเตือนคุณพ่อคุณแม่ทุกคน

ให้หยุดหยิบยื่นและฝากลูกไว้กับสิ่งเหล่านี้เสียที!!

โรคสมาธิสั้น

อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผยเด็กไทยป่วย “ไฮเปอร์” กว่า 4.2 แสนคน

แถมเด็กเล็กป่วย “ไฮเปอร์เทียม” อีกเพียบ

โดยต้นเหตุนั้นมาจากคุณพ่อคุณแม่

ปล่อยลูกไว้กับมือถือ แท็บเล็ต

จนกระทบการทำงานสมอง พูด อ่าน เขียนแย่

แนะให้ลูกเลิกเล่นมือถือ และปล่อยเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน

นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

ออกมาเปิดเผยว่า ในกลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 6-15 ปี

ที่มีปัญหาผลการเรียนไม่ดี เรียนไม่ทันเพื่อนนั้นมักจะพบมี

4 โรคทางจิตเวชแอบแฝงที่พบบ่อย คือ

1.ออทิสติก

2.สมาธิสั้น

3.แอลดีหรือภาวะบกพร่องในการเรียนรู้

4.สติปัญญาบกพร่อง

จากสถิติพบว่า มีเด็กป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นพบมากที่สุด

ซึ่งผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตปี 2559 ร้อยละ 5.4

คาดว่ามีเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น 420,000 คน จากประชากรเด็ก 7 ล้านคน

หรือพบได้ 2-3 คนต่อห้องเรียนที่มีเด็ก 40-50 คน

และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

ซึ่งอาการที่แสดงออกได้แก่ ซนอยู่ไม่นิ่งขาดสมาธิ

หุนหันพลันแล่น หรือมักเรียกว่า “โรคไฮเปอร์”

โดยเด็กจะวอกแวก ทำงานตก ๆ หล่น ๆ

ทำอุปกรณ์การเรียนหายประจำ ซุ่มซ่าม ใจร้อน

วู่วาม ซึ่งเกิดจากสมองทำงานผิดปกติ

และมักมีอาการชัดเจนในช่วงประถมศึกษา

นพ.บุญเรือง กล่าวต่อว่า

หากผู้ปกครองหรือครูไม่เข้าใจ

และคิดว่าเป็นเด็กซน เด็กดื้อ

จะทำให้เด็กขาดการรักษาที่ถูกต้อง

เกิดปัญหาอารมณ์และพฤติกรรมที่อาจส่งผลถึงอนาคตได้

เช่น เสี่ยงติดสารเสพติด ก่ออาชญากรรม เป็นต้น

และที่น่าห่วงมากขณะนี้

พบว่าเด็กเล็กที่ปกติกลายเป็นโรคไฮเปอร์เทียมมากขึ้น

คือมีอาการคล้ายโรคไฮเปอร์ แต่ยังไม่ถึงขั้นป่วย

เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ตามใจ

ปล่อยให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ

เล่นแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนเพื่อทำให้เด็กนิ่ง ไม่ซน

แต่ในวงการจิตแพทย์พบว่าความเร็วของภาพในเกมซึ่งเปลี่ยนเร็วทุก 3 วินาที

จะส่งผลโดยตรงต่อสมองทำงานไม่ลงตัว

คุมสมาธิไม่ได้ ทำให้ทักษะการอ่าน การเขียน

การพูดของเด็กแย่ลง อารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น

มีปัญหาการอยู่ร่วมกับเด็กวัยเดียวกันหรือคนอื่น

นพ. บุญเรือง กล่าวเพิ่มเติม

ดังนั้นขอเตือนผู้ปกครองระวัง

อย่าให้เด็กเล็กเล่นเกมจากอุปกรณ์เหล่านี้

หากให้หยุดเล่นได้เร็วอาการจะค่อย ๆ หายไป

และควรให้เด็กได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกัน

เพื่อให้เด็กมีทักษะและพัฒนาการทุกด้าน

โรคสมาธิสั้น ADHD คืออะไร?

โรคสมาธิสั้นคือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กที่มีอายุก่อน 7 ปี

ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน

และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก

กลุ่มอาการนี้ได้แก่ ขาดสมาธิ

การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง

และ อาการซน เป็นต้น

วิธีการสังเกต

  • ไม่สามารถทำงานที่ครู หรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
  • ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
  • ไม่ค่อยสนใจฟังเวลาที่พูดด้วย
  • วอกแวกง่าย
  • ไม่ค่อยเป็นระเบียบเรียบร้อย
  • ทำของใช้ส่วนตัวหรือของใช้จำเป็นหายบ่อย
  • ยุกยิก อยู่ไม่สุข
  • รอคอยไม่เป็น
  • ชอบพูดจาแทรกเวลาที่คนอื่นกำลังพูดอยู่
  • ตื่นตัวตลอดเวลา และตื่นเต้นง่าย

คุณพ่อคุณแม่คนับ สิ่งเหล่านี้

ล้วนแต่มีผลกระทบกับลูกด้วยกันทั้งสิ้น

ดังนั้นเพื่อเกิดผลดีกับลูกของเรา

ควรหลีกเลี่ยง

แล้วพาลูกออกไปเรียนรู้โลกกว้าง

ที่แท้จริงกันดีกว่าครับ

เครดิต: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

อ้างอิง : www.amarinbabyandkids.com

Tags :