5 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • 27 July 2021
5 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

ความเป็นห่วงและความกังวลระหว่างตั้งครรภ์มักส่งผลทำให้คุณแม่เครียดอยู่เสมอ

นอกจากอารมณ์แปรปรวนที่มักจะเกิดขึ้นได้กับแม่ท้องเป็นส่วนใหญ่แล้ว

ยังมีอีกหลายปัจจัยมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่แม่ท้องควรรู้

 

5 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

1. ภาวะโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ หากมีภาวะขาดสารอาหารก็จะส่งผลทำให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย

หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักมากเกินไป ส่งผลทำให้น้ำหนักตัวของลูกในท้องมาก

ร่างกายไม่แข็งแรง หรืออาจทำให้การคลอดยาก ในขณะตั้งครรภ์หากแม่ท้องขาดสารไอโอดีน

อาจส่งผลให้ทารกพิการทางสมอง เป็นใบ้ หรือหน้าบวม


2. โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

แม่ท้องที่เป็นโรคเบาหวาน อาจทำให้ทารกในครรภ์ตัวโตมากกว่าปกติ มีโอกาสพิการแต่กำเนิด

เสี่ยงแท้ง หรือตายคลอดได้ แม่ท้องที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้พัฒนาการของทารกในครรภ์เติบโตช้า

แม่ท้องที่เป็นโรคหัวใจ อาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนและเติบโตช้าในครรภ์

แม่ท้องที่เป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

หากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจทำให้ทารกตายในครรภ์

โรคติดต่อที่สำคัญ เช่น

การติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ระยะแรก อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด

เป็นต้อกระจก หูหนวก และมีพัฒนาการเติบโตช้าในครรภ์

โรคซิฟิลิส อาจทำให้ทารกบวมน้ำและเสียชีวิตในครรภ์

รวมถึงโรคเอดส์ ที่ส่งผลให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้ เป็นต้น


3. พฤติกรรมของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์

เมื่อแม่ท้องสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นในระหว่างตั้งครรภ์

จะทำให้ลูกในครรภ์ได้รับสารคาร์บอนมอนอกไซด์ และนิโคติน ซึ่งจะทำให้ทารกเติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด

มีผลต่อสมองทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนได้ และการสูบบุหรี่ของแม่ท้อง ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด และถุงน้ำคร่ำแตก มีโอกาสเสี่ยงทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดและเสียชีวิตตามมา

การดื่มสุราหรือแอลกอฮอลระหว่างตั้งครรภ์ (แม้เพียงเล็กน้อย) มีผลเสียต่อลูกในครรภ์

ทั้งการเจริญเติบโตและสติปัญญาของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะความพิการทางสมอง พิการแต่กำเนิด หรือเสี่ยงแท้งได้

แม่ท้องที่ติดเหล้าในปริมาณที่มากหรือดื่มบ่อย จะพบความผิดปกติบนใบหน้าของทารก ส่งผลให้รูปร่างสมองผิดปกติ

มีสติปัญญาต่ำ หรือมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะตายคลอด และกระทบต่อพฤติกรรมของลูกได้เมื่อโตขึ้น

เช่น ปัญญาอ่อน สมาธิสั้น


4. ร่างกายของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์

แม่ตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ร่างกายอาจยังไม่พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์

หรือหากอายุมากกว่า 35 ปี ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้

แม่ท้องที่คลอดลูกบ่อย หรือมีจำนวนการคลอดมากกว่า 4 ครั้ง ก็ส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนสูง


5. คุณพ่อและครอบครัว

การที่คุณพ่อดูแลเอาใจใส่คุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เป็นอย่างดี คอยให้กำลังใจ และเป็นผู้ช่วยข้างกายของคุณแม่

จะช่วยลดความวิตกกังวล และไม่คิดว่าตัวเองต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการตั้งท้องอยู่เพียงคนเดียว

ครอบครัวญาติมิตรที่มีความห่วงใยเอาใจใส่ก็จะทำให้แม่ท้องมีสุขภาพจิตที่ดี เพราะหากแม่ท้องมีความเครียด

จิตตก ก็อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า และเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดได้เช่นกัน

 

อ้างอิง

Arora M. 10 important factors affecting child’s growth and development [Internet].

Firstcry.com. 2019 [cited 2021 Jan 18].

Available from: parenting.firstcry.com/articles/factors-that-affect-growth-and-development-in-children/


บทความที่ 14 : ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์

- 16teen-kkrs16 [Internet]. Google.com. [cited 2021 Jan 18].

Available from: sites.google.com/site/16teenkkrs16/home/paccay-thi-mi-phlk-ra-thb-tx-kar-tang-khrrph

 

ติดต่อ : 083 436 5947

Tags :