น้ำหนักคนท้องแต่ละไตรมาส อย่างไรถึงดี ? ?

  • 15 July 2021
น้ำหนักคนท้องแต่ละไตรมาส อย่างไรถึงดี ? ?

 

ไขข้อข้องใจ น้ำหนักคนท้องแต่ละไตรมาส อย่างไรถึงดี ? ?

เมื่อคุณตั้งครรภ์แล้ว ต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

เตรียมใจยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและน้ำหนักตัวเอง

อย่างบางคนอาจจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 20 - 30 กิโลกรัม

หรือบางคนอาจจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นกว่า 2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

คุณแม่บางคนก็น้ำหนักลดเพราะไม่รู้สึกอยากอาหาร แต่นั่นจะเป็นอันตรายไหม

ในบทความนี้เราจะมาไขข้อข้องใจว่า น้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์ในแต่ละไตรมาสควรเป็นอย่างไร

 

ก่อนอื่นมาลองวัดดัชนีมวลกาย หรือ BMI ของคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์

ว่าอยู่ในระดับใดก่อน โดยสูตรคำนวณง่าย ๆ ดังนี้

BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ความสูง (เมตร) x ความสูง (เมตร)

 

  • BMI สถานะน้ำหนักตัวคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์
  1. < 18.5 น้ำหนักตัวน้อยเกินไป
  2. 18.5 - 22.9 น้ำหนักตัวเหมาะสม
  3. 23 – 29.9 น้ำหนักตัวมากเกินไป
  4. ≥ 30 อ้วน

  • BMI (กก./ตร.ม.) น้ำหนักที่ควรเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์ (กก.)
  1. น้ำหนักน้อย (< 18.5) 12.5-18
  2. น้ำหนักตัวเหมาะสม (18.5 - 22.9) 11.5-16
  3. น้ำหนักเกิน (23 – 29.9) 7.0-11.5
  4. อ้วน (≥ 30) 5.0-9.0

  • อาหารที่กินจะไปอยู่ส่วนไหนของร่างกายคนท้อง
  1. อาหารจะอยู่ที่ทารก ประมาณ 3.6 กิโลกรัม
  2. อาหารจะอยู่ที่รก ประมาณ 0.9 - 1.3 กิโลกรัม
  3. อาหารจะอยู่ที่น้ำคร่ำ ประมาณ 0.9 - 1.3 กิโลกรัม
  4. อาหารจะอยู่ที่เนื้อเยื่อบริเวณหน้าอก ประมาณ 0.9 - 1.3 กิโล
  5. อาหารจะอยู่ที่เลือดหล่อเลี้ยง ประมาณ 1.8 กิโลกรัม
  6. อาหารจะอยู่ที่ไขมันสำรองสำหรับตอนคลอดและน้ำนมลูก ประมาณ 2.2 - 4 กิโลกรัม
  7. อาหารจะอยู่ที่มดลูกก ประมาณ 0.9 - 2.2 กิโลกรัม

 

  • น้ำหนักคนท้องในช่วงไตรมาสแรก

ในช่วงไตรมาสแรก ลูกน้อยในครรภ์ยังคงมีขนาดตัวเล็กอยู่ อาจจะมีความยาวเพียง 5 เซนติเมตรเท่านั้น

ทำให้น้ำหนักคนท้องอาจจะยังไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก หรือน้ำหนักตัวของแม่บางคนอาจจะลดลงด้วยซ้ำ

เพราะมักจะมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และรับประทานอะไรได้ยาก อย่างไรก็ตามคุณแม่ไม่ต้องกังวล

ว่าลูกน้อยในครรภ์จะไม่ได้รับสารอาหาร เพราะตัวอ่อนจะมีอาหารของเขาอยู่ในถุงไข่แดง ยังไม่ได้รับสารอาหารผ่านทางคุณแม่

ดังนั้นในช่วงไตรมาสแรก น้ำหนักของคุณแม่อาจจะเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัม และค่อนข้างดูออกได้ยากว่ากำลังท้องอยู่หรือเปล่า

 

  • น้ำหนักคนท้องในช่วงไตรมาสสอง

ตลอดไตรมาสที่สอง (เดือนที่ 4 - 6) ลูกน้อยในครรภ์จะมีการเติบโตอย่างจริงจัง

โดยน้ำหนักของคุณแม่จะค่อย ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 4 - 5 กิโลกรัม

ทำให้คนรอบข้างจะเริ่มสังเกตออกแล้วว่าคุณแม่อาจจะดูอ้วนขึ้น

บางคนก็ยังสามารถใส่ชุดปกติได้ แต่แม่บางคนอาจจะน้ำหนักขึ้นมามากจนต้องเปลี่ยนไปใส่ชุดคลุมท้อง

โดยไตรมาสที่สองควรเพิ่มปริมาณอาหาร และเพิ่มแคลอรีอย่างช้า ๆ ประมาณ 340 แคลอรีต่อวัน

หรือแตกต่างกันตามร่างกายของคุณแม่แต่ละคน ขอแค่ไม่เยอะจนเกินไป หรือรับประทานอาหารหนัก ๆ ในตอนดึก

ซึ่งในไตรมาสนี้น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ย 0.5 - 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

 

  • น้ำหนักคนท้องในช่วงไตรมาสสาม

ในไตรมาสที่สามหรือไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะได้รับอาหารของแม่เต็ม ๆ

เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย และสมอง เพราะฉะนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ

เพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ โดยปริมาณอาหารควรอยู่ที่ 2,400 แคลอรีต่อวัน

ในส่วนของน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 – 3 กิโลกรัมเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นระยะเดือนสุดท้าย

โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอด น้ำหนักจะคงที่หรือลดลงบ้างเล็กน้อยประมาณครึ่งกิโลกรัม

 

 

เมื่ออ่านจนถึงตรงนี้แล้ว ให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์สำรวจตัวเองว่าน้ำหนักได้เข้าเกณฑ์ตามที่บอกไว้ในแต่ละไตรมาสหรือไม่

อาจจะไม่ต้องตรงเป๊ะทุกอย่าง ขอแค่มีความใกล้เคียงก็ถือว่ายังปกติ แต่หากมีความแตกต่างไปจากนี้มากเกินไป

เช่น มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นเกินไป น้ำหนักลดลง หรือไม่เพิ่มขึ้นจนผิดสังเกต ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

 

 

ติดต่อ : 083 436 5947

 

Tags :